ทำความรู้จักดัชนี CAC 40

CAC 40 คือดัชนีหุ้นที่ประกอบ 40 บริษัทยักษ์ใหญ่และมีการซื้อขายอย่างต่อเนื่องในตลาดหุ้นฝรั่งเศส เช่น Airbus, Hermès, L’Oréal, Sanofi เป็นต้น

ในปัจจุบัน คุณสามารถลงทุนผ่าน CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) กับโบรกเกอร์ CFD เท่านั้น

ดัชนี CAC 40

หากคุณสนใจลงทุนบริษัทชั้นนำอย่าง Renault, Carrefour, Michelin หรือ L’OREAL คุณสามารถซื้อหุ้นบริษัทเหล่านี้ผ่านตลาดหุ้นฝรั่งเศส

แต่การลงทุนในตลาดหุ้นฝรั่งเศสไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะข้อมูลทางการเงินจัดทำเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นกำแพงภาษาสำหรับคนไทย ไหนจะเรื่องกฎระเบียบที่แตกต่างจากของไทย ทำให้การเริ่มต้นจากดัชนี CAC 40 ดูจะทางเลือกที่ดีสำหรับเส้นทางการลงทุนในฝรั่งเศสของคุณ

อ่านต่อเพื่อเรียนรู้ว่า CAC 40 Index คืออะไร และคุณสามารถลงทุนผ่านช่องทางใดได้บ้าง

สารบัญ

ดัชนี CAC40 คืออะไร

ช่องทางการลงทุน

ดัชนี CAC 40 คืออะไร

CAC 40 คือดัชนีหุ้นที่วัดผลการดำเนินงานของ 40 บริษัทยักษ์ใหญ่และมีการซื้อขายอย่างต่อเนื่องบนตลาดหุ้นฝรั่งเศส และยังใช้ในการสร้างหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง กองทุน กองทุน ETF ออปชั่นและฟิวเจอร์ส

ข้อมูลเบื้องต้น

กลุ่มอุตสาหกรรม

กลุ่มอุตสาหกรรมสัดส่วนถ่วงน้ำหนัก
สินค้าฟุ่มเฟือย30.3%
อุตสาหกรรม21.8%
การแพทย์10.5%
การเงิน8.7%
พลังงาน8.1%
วัสดุพื้นฐาน5.7%
สินค้าจำเป็น5.5%
เทคโนโลยี5.0%
สาธารณูปโภค2.7%
เทคโนโลยีสารสนเทศ1.2%
อสังหาริมทรัพย์0.3%
ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2566

10 บริษัทชั้นนำที่อยู่ภายในดัชนี CAC 40 (ข้อมูล ณ 14 พฤษภาคม 2566)

  1. LVMH Moët Hennessy Louis Vuitton (LVMH) สัดส่วนในดัชนี 12.79

ผู้นำด้านสินค้าฟุ่มเฟือยระดับโลก บริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Louis Vuitton, Marc Jacobs, Christian Dior เป็นต้น ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและแฟชั่น (48.7%) นาฬิกาและเพชรพลอย (13.3%) ไวน์และสปิริต (8.9%) น้ำหอมกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (8.5%) ส่วนที่เหลือมาจากการจำหน่ายแบบเลือกสรรผ่านเชนและห้างสรรพสินค้า (20.6%)

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากเอเชีย (30%) สหรัฐอเมริกา (27.2%) ยุโรป (16%) ฝรั่งเศส (7.7%) ญี่ปุ่น (6.9%) และอื่น ๆ

  1. TotalEnergies SE (TTE) สัดส่วนในดัชนี 8.14%

หนึ่งในกลุ่มบริษัทน้ำมันชั้นนำของโลก ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากการกลั่นและเคมีภัณฑ์ (43.3%) การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (35.8%) การผลิตพลังงาน (17.4%) การผลิตและประกอบกิจการไฮโดรคาร์บอน (3.5%) 

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากยุโรป (43.6%) ฝรั่งเศส (20.8%) อเมริกาเหนือ (11.8%) แอฟริกา (8.7%) และอื่น ๆ

  1. Sanofi S.A. (SAN) สัดส่วนในดัชนี 6.88%

กลุ่มบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากผลิตภัณฑ์ยา (71.4%) วัคซีนมนุษย์ (16.8%) และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภค (11.8%) 

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากสหรัฐอเมริกา (42.5%) ยุโรป (18%) จีน (7.3%) ฝรั่งเศส (5.3%) ญี่ปุ่น (3.8%) บราซิล (2.1%) รัสเซีย (1.5%) และอื่น ๆ

  1. L’Oréal S.A. (OR) สัดส่วนในดัชนี 5.98%

กลุ่มบริษัทเครื่องสำอางชั้นนำของโลก บริษัทเป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Lancôme, Giorgio Armani, L’Oréal Paris, Maybelline New York เป็นต้น ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากตระกูลผลิตภัณฑ์

  • เครื่องสำอางแบรนด์หรู (38.3%)
  • เครื่องสำอางสำหรับผู้บริโภค (36.6%)
  • เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสำคัญที่จัดการปัญหาผิวได้ตรงจุดและได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ (13.4%)
  • ผลิตภัณฑ์มืออาชีพ (11.7%)

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากยุโรป (29.9%) เอเชียเหนือ (29.6%) อเมริกาเหนือ (26.6%) เอเชีย/แปซิฟิก/ตะวันออกกลาง/แอฟริกา (7.7%) และละตินอเมริกา (6.2%)

  1. Schneider Electric SE (SU) สัดส่วนในดัชนี 5.28%

บริษัทจัดหาโซลูชันดิจิทัลด้านพลังงานและระบบอัตโนมัติเพื่อประสิทธิภาพและความยั่งยืน โดยรวมเทคโนโลยีพลังงานชั้นนำระดับโลก ระบบอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ซอฟต์แวร์เข้าด้วยกันเป็นโซลูชันครบวงจรสำหรับบ้าน อาคาร ศูนย์ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากสหรัฐอเมริกา (27.9%) ยุโรปตะวันตก (18.5%) เอเชีย/แปซิฟิก (15.2%) จีน (15.1%) ฝรั่งเศส (5.8%) อเมริกาเหนือ (4.2%) และอื่น ๆ

  1. Air Liquide S.A. (AI) สัดส่วนในดัชนี 4.86%

หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตก๊าซทางการแพทย์และอุตสาหกรรมของโลก ยอดขายสุทธิของบริษัทเกือบทั้งหมด (95.5%) มาจากการผลิตก๊าซทางการแพทย์และอุตสาหกรรม ส่วนอีก 4.5% ของยอดขายสุทธิมาจากกิจกรรมทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซและการผลิตสินค้าไฮเทค

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากสหรัฐอเมริกา (30.9%) ยุโรป (29.5%) เอเชีย/แปซิฟิก (19.1%) ฝรั่งเศส (12%) อเมริกา (5.5%) และแอฟริกากับตะวันออกกลาง (3%)

  1. Airbus SE (AIR) สัดส่วนในดัชนี 4.39%

บริษัทเบอร์หนึ่งด้านอุตสาหกรรมอากาศยานศาสตร์ อวกาศและป้องกันประเทศของยุโรป ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากเครื่องบินพาณิชย์ (69.4%) ระบบป้องกันและอวกาศ (19.1%) และเฮลิคอปเตอร์พลเรือนและการทหาร (11.5%) 

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากยุโรป (41.3%) เอเชีย/แปซิฟิก (26.2%) อเมริกาเหนือ (23.1%) ตะวันออกกลาง (4.4%) ละตินอเมริกา (3.5%) และอื่น ๆ

  1. BNP Paribas SA (BNP) สัดส่วนในดัชนี 3.69%

กลุ่มบริษัทธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ผลิตภัณฑ์การธนาคารสุทธิของบริษัทคือการธนาคารเพื่อรายย่อย (54.4%) การเงินและวาณิชธนกิจ (32.5%) ประกันภัยและการบริหารลูกค้าธนบดีธนกิจกับสถาบัน (13.1%) 

ลูกค้าของบริษัทมาจากยุโรป (78.9%) อเมริกาเหนือ (13.2%) และเอเชีย/แปซิฟิก (7.9%)

  1. Hermès International SA (RMS) สัดส่วนในดัชนี 3.55%

บริษัทเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตและทำการตลาดสินค้าฟุ่มเฟือย ยอดขายสุทธิตามตระกูลผลิตภัณฑ์มาจากผลิตภัณฑ์อานม้าและเครื่องหนัง (42.8%) เสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องประดับ (27.2%) ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผ้าไหม (7.2%) นาฬิกาและของผลิตนาฬิกา (4.5%) และน้ำหอม (3.9%) และอื่น ๆ

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากเอเชีย/แปซิฟิก (47.9%) อเมริกา (18.4%) ยุโรป (13.2%) ญี่ปุ่น (9.5%) ฝรั่งเศส (9.2%) และอื่น ๆ

  1. Vinci SA (DG) สัดส่วนในดัชนี 3.48%

ผู้นำระดับโลกด้านการก่อสร้าง สัมปทานและบริการที่เกี่ยวข้อง ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (47.1%) การออกแบบ การดำเนินการและการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมและพลังงาน (35.8%) การบริหารโครงสร้างพื้นฐานแบบรับเหมาช่วง (14.7%) และอื่น ๆ (2.4%) โดยหลักจะเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ยอดขายสุทธิของบริษัทมาจากฝรั่งเศส (45.3%) ยุโรป (10.7%) สหราชอาณาจักร (8.5%) เยอรมนี (6.6%) เอเชีย/แปซิฟิกและตะวันออกกลาง (5.8%) อเมริกากลางและอเมริกาใต้ (5.4%) สเปน (4.9%) สหรัฐอเมริกา (4.8%) อเมริกาเหนือ (3.2%) แอฟริกา (2.8%) และโปรตุเกส (2%) 

หลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ + รอบระยะเวลาการทบทวนหลักทรัพย์

เกณฑ์เบื้องต้น

  • จดทะเบียนในตลาดหุ้นฝรั่งเศส (Euronext Paris) และซื้อขายอย่างต่อเนื่อง
  • ซื้อขายในสกุลเงินยูโรเท่านั้น

หลังจากผ่านเกณฑ์เบื้องต้นแล้ว หลักทรัพย์จะผ่านเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ทุกธุรกรรมในฐานคำเสนอซื้อ-ขาย (Order Book) เกิดขึ้นในตลาดหุ้นฝรั่งเศส
  • การทบทวนรายปี (เดือนกันยายน)
    • ค่าความเร็วในการซื้อขายเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float Velocity) อย่างน้อย 20% ในช่วง 12 เดือนจนถึงและรวมวันที่เป็นจุดตัดข้อมูล
  • การทบทวนรายไตรมาส
    • หุ้นนอกดัชนี: ค่าความเร็วในการซื้อขายเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นรายย่อยอยู่ที่ 30%
    • หุ้นที่อยู่ในดัชนี: ค่าความเร็วในการซื้อขายเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นรายย่อยอยู่ที่ 10% 

ดัชนีจะจัดอันดับหลักทรัพย์ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • มูลค่าการซื้อขายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • มูลค่าตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่เป็นจุดตัดข้อมูล*

*วันที่เป็นจุดตัดข้อมูลคือวันศุกร์ก่อนวันศุกร์สุดท้ายเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคมและพฤศจิกายน

ดัชนี CAC40 จะเลือกบริษัทที่อยู่ใน 35 อันดับแรก ส่วนอีก 5 บริษัทจะคัดเลือกจากบริษัทที่อยู่ในอันดับ 36 – 45 โดยให้ความสำคัญกับบริษัทที่อยู่ในดัชนีก่อน

ช่องทางการลงทุน

CFD

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) คือสัญญาระหว่างนักลงทุนกับโบรกเกอร์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องจ่ายส่วนต่างของราคาสินทรัพย์อ้างอิง (เช่น หุ้น ทองคำ คู่สกุลเงิน เป็นต้น) ในช่วงนับตั้งแต่เริ่มต้นทำสัญญาจนถึงสิ้นสุดสัญญา

หากคุณกำลังมองหาช่องทางการลงทุนที่สามารถทำกำไรไม่ว่าดัชนีจะวิ่งขึ้นหรือดิ่งลง ใช้เงินเริ่มต้นหลักพันหรือหลักร้อย (ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์ CFD) และไม่มีวันหมดอายุ (ตราบเท่าที่ไม่ถูกโบรกเกอร์บังคับปิด)

การลงทุนผ่าน CFD มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับคุณ เพราะคุณมีโอกาสสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมด

เอกสารอ้างอิง

CAC 40 Index: https://live.euronext.com/en/product/indices/FR0003500008-XPAR/market-information เข้าถึง 14 พฤษภาคม 2566

Euronext Index Calculation and Periodical Reviews 21-01: https://live.euronext.com/sites/default/files/documentation/index-rules/Euronext%20Index%20Calculation%20and%20Periodical%20Reviews%2021-01.pdf 14 พฤษภาคม 2566

Index Consultation: https://live.euronext.com/en/products/indices/consultations/psi_free_float_velocity เข้าถึง 14 พฤษภาคม 2566

Schneider Electric Company Profile: https://www.se.com/th/th/about-us/company-profile/ เข้าถึง 14 พฤษภาคม 2566

Leave a Comment